ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ มนุษย์จำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันโลกออนไลน์ในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งนั่นรวมถึงนักการตลาดที่จำเป็นต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของคนสมัยใหม่ เพื่อที่จะใช้กลยุทธทางการตลาดได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือกลยุทธแบบ KOL และ KOC หากสงสัยว่า KOL และ KOC คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไรนั้น ทาง NEO LIFE MEDIA จะกล่าวเป็นลำดับต่อไป
KOL คืออะไร เท้าความก่อนว่า KOL ย่อมากจาก Key Opinion Leader (ความคิดเห็นหลักทางกลุ่มผู้มีอิทธิพลด้านสื่อ) คือผู้ใช้สื่อที่มีฐานแฟนคลับและผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก และผู้ใช้งานนั้นจะเห็นได้ถึงความสามารถหรือประสบการณ์เฉพาะด้าน และ KOL เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมากในแง่ของการชักจูงผู้อื่นให้เลือกตัดสินใจบริโภคสิ่งนั้น โดยใช้ความรู้หรือมีอิทธิพลในการโน้มน้าวกลุ่มผู้ติดตาม ทางบริษัทต่าง ๆ มักจ้าง KOL ให้โฆษณาสินค้าของเขา เพราะ KOL นั้นมีอิทธิพลในการโน้มน้าวความสนใจต่อผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่าง กลุ่ม KOL ทางด้านอาหาร จะเป็นผู้ใช้งานสื่อด้านอาหารที่มีฐานผู้ติดตามอย่างเหนียวแน่น โดยคอนเทนต์เขาจะเป็นเกี่ยวกับการทำอาหาร การรีวิวอาหาร และคอนเทนต์ด้านการกิน เห็นได้ชัดจากบัญชีสื่อด้านอาหาร Tasty ที่หลายคนแทบจะไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย อีกบัญชีก็คือ ฟาร์มกำลังทำอาหาร ที่โด่งดังใน Tiktok ในประเทศไทย ด้วยจำนวนผู้ติดตาม 1.1 ล้าน โดยผู้ใช้งานสื่อนี้จะทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการทำอาหาร ซึ่งพวกเขาจะชักจูงความสนใจกับกลุ่มคนที่สนใจในด้านเดียวกัน นั่นก็คือความสนใจทางด้านอาหาร
KOC คืออะไร เท้าความก่อนว่า KOC ย่อมากจาก Key Opinion Customer (ความคิดเห็นหลักจากกลุ่มผู้บริโภค) มาจากการรีวิวของผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภค โดยวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นตามความเป็นจริง โดยพวกเขาคือกลุ่มผู้ใช้งานธรรมดาทั่วไป ทำให้ผู้รับชมสื่อจากพวกเขารู้สึกคอนเน็กกันได้ง่ายขึ้น เหมือนมีเพื่อนมาป้ายยา โดยสังเกตได้ว่า ทางกลุ่ม KOC มีกลุ่มผู้ติดตามอาจไม่มากเท่า KOL แต่มีทักษะในการรีวิวสินค้าและการบริการอย่างเหลือเชื่อ ถึงแม้พวกเขาจะไม่ได้โด่งดังหรือมีฐานผู้ติดตามอย่างล้นหลาม แต่การรีวิวสินค้าหรือการบริการจากพวกเขานั้นช่วยให้ผู้รับชมเชื่อถือเขามากขึ้น เพราะมันมาจากประสบการณ์ส่วนตัวจริงจากผู้รีวิว และเมื่อเขาทำคอนเทนต์รีวิวอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถเพิ่มยอดติดตามอย่างล้นหลามไม่แพ้กลุ่ม KOL ได้เลยทีเดียว ซึ่งกลุ่มผู้รีวิวนั้นมีผลต่อการตัดสินใจบริโภคอย่างเห็นได้ชัดเจน ยกตัวอย่าง บิวตี้บล็อกเกอร์ “อายตา (Eyeta)” ที่มียอดซับ (ยอดผู้ติดตาม) ทาง Youtube ถึง 1.38 ล้านคน โดยคุณอายตานั้นจะรีวิวการใช้งานเครื่องสำอางตามความเป็นจริง จนมีช่วงหนึ่งเป็นกระแสดราม่าพักใหญ่เพราะรีวิวสินค้าแบบตรงไปตรงมา จนมีผู้รับชมไม่พอใจผู้ขายสินค้า โดยคุณอายตาให้ความสำคัญในแง่ของ “ความซื่อสัตย์” ด้วยการรีวิวคุณภาพสินค้าตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่ากลุ่ม KOL นั้นมีอิทธิพลต่อการบริโภคและความสนใจต่อผู้รับชมเป็นอย่างมาก สามารถทำให้ผู้รับชมตัดสินใจ “ซื้อ” หรือ “ไม่ซื้อ” เลยทีเดียว เฉกเช่นดรามาที่ผ่านมา
KOL และ KOC นั้นเป็นกลุ่มใช้สื่อที่มีความแตกต่างกัน รวมไปถึงข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น ทาง NEO LIFE MEDIA จะมาอธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างในแต่ละด้านกันเลย
ข้อดีของ KOL
เป็นกระแสอย่างรวดเร็วและมีความนิยมบริโภคสินค้ามากขึ้น เพราะกลุ่ม KOL จะมีฐานผู้ติดตามค่อนข้างแน่น และเป็นกระแสได้ง่าย โดยจะเน้นไปที่การโปรโมต โดยนักการตลาดจีน 22% ได้กล่าวไว้ว่า การตลาดแบบ KOL นั้นเป็นวิธีที่คุ้มค่าที่สุดในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ และกลุ่มเจน z จากประเทศจีน 48% ได้กล่าวไว้ว่า พวกเขาติดตามกลุ่ม KOL เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจบริโภคสินค้า
ช่วยเน้นภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการ เพราะเมื่อกลุ่ม KOL โปรโมตสินค้า จะทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการดูมีเครดิตมากขึ้น เพราะผู้โปรโมตมียอดผู้ติดตามสูง
สินค้าเป็นที่จดจำได้ง่าย เพราะผู้บริโภคสินค้าจะจดจำสินค้าจากกลุ่ม KOC
ข้อเสียของ KOL
มีค่าใช้จ่ายที่สูง ในบางเคสราคาจ้างงานจะสูงขึ้นตามยอดผู้ติดตาม
ความน่าเชื่อถือในแง่ของคุณภาพไม่มากเท่า KOC เพราะบางเคส กลุ่มผู้รับชมจะดูออกว่าถูกจ้างมาโปรโมต อาจไม่ได้ใช้งานจริง
ข้อดีของ KOC
บัดเจ็ทหรือค่าใช้จ่ายถูกกว่ากลุ่ม KOL เพราะบางรายยอดติดตามไม่ได้สูงมาก
มีความน่าเชื่อถือว่า KOL เพราะทางกลุ่มผู้รับชม KOC จะเห็นได้ชัดว่าใช้งานจริง โดยเน้นในแง่ของการรีวิว
การตลาดของ KOC จะเน้นในแง่ของการป้ายยา หรือบอกปากต่อปาก จนมีผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยจากงานวิจัยจากประเทศจีนในปีพ.ศ.2566 พบว่า การใช้การตลาดแบบปากต่อปาก หรือรีวิวตรงไปตรงมาอย่างธรรมชาติ จะส่งผลต่อความสนใจและการบริโภค 55-75%
ผู้รับชมรู้สึกเข้าถึงกลุ่ม KOC ได้ง่าย เพราะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเพื่อน เป็นคนธรรมดาที่มาเล่าสู่กันฟัง มาแลกเปลี่ยนให้กัน ซึ่งส่งผลให้คอนเน็กกับผลิตภัณฑ์ได้ง่ายมากขึ้น
ข้อเสียของ KOC
กลุ่มผู้ติดตามของผู้ใช้งานบางคนอาจไม่มากเท่า KOL ดังนั้น การโฆษณาหรือโปรโมทสินค้านั้น อาจดึงดูดหรือมีอิทธิพลได้ไม่มากเท่ากลุ่ม KOL
ใช้เวลานานกว่า KOL เพราะเน้นในเชิงปากต่อปาก ในขณะที่ KOC จะเป็นกระแส และมีผู้ใช้บริโภคตามเทรนด์อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น หากต้องการทำการตลาดในประเทศจีน (หรือในประเทศใดก็ตาม) และเพิ่มยอดขายออนไลน์ จะพบได้ว่าการตลาดแบบ KOL และ KOC นั้นมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีความสำคัญทางการตลาดออนไลน์ไม่แพ้กันเลย ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับบัดเจ็ท (ต้นทุน) และเป้าหมายทางการตลาดและกลุ่มลูกค้า
Comments